หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไข้เลือดออก


ไข้เลือดออก ในเด็ก
ไข้เลือดออกในเด็กไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่มียุงลายเป็นตัวแพร่เชื้อไม่มียารักษาเฉพาะ รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้ ให้น้ำเกลือในรายที่อ่อนเพลีย อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ และในรายที่เป็นรุนแรงจะมีเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้มีเลือดออกและอาจต้องให้เลือดทดแทน

อาการของไข้เลือดออก
 มีไข้สูงลอย 2-7 วัน ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน บางคนอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามตัว การรับประทานยาลดไข้มีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น ลดอาการปวดศีรษะและป้องกันการชักจากไข้สูงในเด็ก ฉะนั้นไข้จึงแค่ลดต่ำลงและจะหายตามระยะเวลาของโรค

การดูแลเบื้องต้น
 - เช็ดตัวลดไข้ในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูง
 - การรับประทานยาลดไข้ ควรเป็นยาในกลุ่มพาราเซตามอล เช่น เทมปร้า คาลปอล ไทลีนอล ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่ม แอสไพริน หรือบรูเฟนหรือยาลดไข้สูงอื่นๆ
 - ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด และควรงดอาหารหรือน้ำที่มีสีแดง ดำ น้ำตาล เพราะในผู้ป่วยไข้เลือดออกต้องคอยสังเกตว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือเปล่า โดยสังเกตจากอาเจียนหรือถ่าย ถ้ารับประทานอาหารที่มีสีคล้ายเลือดจะทำให้สังเกตได้ยากว่าเห็นเลือดหรืออาหารที่ทานเข้าไป
 - หากผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ให้ดื่มนม น้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้
อาการที่ควรรีบมาพบแพทย์ - เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนมาก กินไม่ได้ ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลง ง่วงซึม กระสับกระส่าย
 - มีอาการแสดงสภาวะช็อค เช่น ชีพจรเบาเร็ว มือเท้าเย็นกระสับกระส่าย
 - มีเลือดออกจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
 - ปวดท้องอย่างรุนแรง อาการทั่วไปแย่ลง
ระยะไข้ลด หมายถึง อุณหภูมิในตัวผู้ป่วยลดลงกว่าเดิม ซึ่งเป็นระยะอันตรายของโรค ผู้ป่วยอาจช็อค หรือมีเลือดออกได้ เป็นระยะที่ต้องดูแลใกล้ชิด อาจต้องวัดความดันโลหิตทุก 1-2 ชั่วโมง หรือต้องสังเกตว่ามีเลือดออกหรือเปล่า
ระยะช็อค ในระยะไข้ลดเกิดจาก เกิดจากไข้เลือดออก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดมีผลให้น้ำที่อยู่ในเส้นเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด เลือดในเส้นเลือดจึงมีความเข้มข้นสูง การไหลเวียนของเลือดไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดี จึงเกิดภาวะช็อคได้
 การเจาะเลือด เพื่อตรวจดูระดับของเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด เพื่อจะใช้เป็นตัวพิจารณาเพิ่มหรือลดอัตราเร็วของน้ำเกลือ ชนิดของน้ำเกลือหรือเลือดที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ  ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่จำเป็นทุกรายที่จะเลือดออกมาก  ผู้ป่วยที่เป็นไม่รุนแรงจะมีเลือดออกไม่มาก เช่น เลือดออกที่ผิวหนังเป็นจุดแดง หรือมีเลือดกำเดาไหล ส่วนผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงหรือมีระยะถึงช็อคอยู่นานๆ อาจมีเลือดออกมากจนต้องได้รับเลือดทดแทน
อาการปวดท้อง สาเหตุเพราะในระยะแรกๆ ที่มีไข้สูงผู้ป่วยอาจทานได้น้อย มีคลื่นไส้ อาเจียน ทำให้น้ำย่อยทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงมีอาการเหมือนโรคกระเพาะ
อาการแน่นท้อง ท้องอืดโต สาเหตุเพราะผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีตับและม้ามโต ทำให้มีอาการท้องอืดโตได้และผู้ป่วยไข้เลือดออกมีการรั่วของน้ำจากหลอดเลือดเข้าไปอยู่ในช่องท้องและช่องปอดทำให้ท้องอืด แน่นท้อง แน่นหน้าอกได้ เมื่อโรคหายอาการต่างๆ จะหายไปเอง
การป้องกัน
 -กำจัดยุงลาย แหล่งน้ำที่เป็นที่เพาะพันธุ์ยุง
 - ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
 - ถ้ามีไข้ 2-3 วัน แล้วไข้ไม่ลด ควรไปพบแพทย์
 - ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เฝ้าระวังอาการผิดปกติที่ต้องนำผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์ทันที
        
คัดลอกมาจาก OK Nationblog
ปราถนาดีจาก




วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อันตรายจากสเตียรอยต์(Sterroids)

     การรักษาอาการของภูมิต้านทานทำร้ายตนเองคือ การใช้ยาต้านการอักเสบเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาในกลุ่มของสเตียรอยด์ โดยทั่วไปจะใช้สเตียรอยด์หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์กันมาก  การเอายากลุ่มนี้มาใช้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ลดอาการเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกิดอักเสบ จุดอ่อนของการรักษาแบบนี้คือ จะต้องใช้ยาตลอดไป แทบจะหยุดยาไม่ได้ ยากลุ่มสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงมาก และร้ายแรง
          สเตียรอยด์ เป็นชื่อเรียกจากกลุ่มฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมหมวกไตซึ่งที่ต่อมนี้จะสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน(ฮอร์โมนชาย)ด้วย สำหรับสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้ กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากความเป็นพิษสูง และให้แพทย์เป็นผู้สี่งยาเท่านั้น
          ประโยชน์ของสเตียรอยด์
  • ใช้เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมน โดยปกติจะใช้สเตียรอยด์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ที่มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องของต่อมหมวกไต และความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
  • ใช้รักษาโรคต่างๆ สเตียรรอยด์จะถูกใช้เมื่อใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือโรคนั้นไม่อาจควบคุมได้จากยาอื่น เนื่องจากมีอาการข้างเคียงสูง วัตถุประสงค์ที่นำสเตียรอยด์ไปใช้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ/หรือกดภูมิคุ้มกันในโรคต่างๆ อาทิ
  1. โรคภูมแพ้ สเตียรอยด์ เมื่อใช้ในโรคภูมิแพ้จะให้ผลดีและรวดเร็วในการควบคุมอาการหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด ไข้หวัดเรื้อรังชนิดแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง
  2. การแพ้ยาและและโรคคันตามผิวหนังที่เกิดจากอาการแพ้ เนื่องจากยามีอันตรายจากใช้สูง  จึงเก็บไว้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น เป็นโรคหวัดคัดจมูกเรื้อรังชนิดแพ้อากาศ ที่ใช้ยาต้านฮีตามินไม่ได้ผล  หรือเป็โรคหืด  ใช้ยาขยายหลอดลมไม่ได้ผล
  3. โรคผิวหนัง สเตียรอยด์ สามารถใช้ลดอาการทางผิวหนังที่เกิดอาการแพ้ การอักเสบและโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคันต่างๆ แต่การใช้สเตียรอยด์ ไม่ใช่เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เป็นเพียงรักษาอาการคันและอาการอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา ดังนั้น เมื่อหยุดยาก็กลับมาเป็นอีก และอาจมีผลลุกลามได้ เพราะสเตียรอยด์มีผลในการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  4. โรคตา สเตียรอยด์ ใช้ในการรักษาโรคของตาที่เกิดอาการแพ้ เช่นอาการเคืองตา เนื่องจากแพ้สารบางชนิด ที่ไม่ใช่จากการติดเชื้อ  ซึ่งแพทย์มักรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตา ดังนั้นจึงห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในกรณีที่ติดเชื้อ และยานี้ไม่มีผลในการรักษาต้อ-กระจกตา นอกจากนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคต้อหินได้
  5. โรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ การรักษาโรคนี้ปกติจะใช้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก่อน หาดมีอาการอักเสบที่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาให้สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการเฉพาะครั้ง กรณีที่มีการอักเสบเฉพาะบางข้อนั้น การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ อาจช่วยลดอาการอักเสบได้ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อในข้อร่วมด้วยห้ามฉีดยา

อันตรายจากการใช้สเตียรอยด์
                     เนื่องจากสเตียรอยด์เป็นยาซึ่งมีผลต่อระบบต่างๆในร่างกายแทบทุกระบบ การใช้สเตียรอยด์อาจนำไปสู่อันตรายมากมาย ได้แก่
  • การติดเชื้อ การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงขึ้น
  • กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งสเตียรอยด์ฮอร์โมน ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย 3 แห่ง ด้วยกันคือ ฮัยโธปาลามัส ต่อมพิทูตารี และต่อมหมวกไต ในภาวะที่มีระดับคอร์ติโอโซล ให้เลือดสูงจะมีการกระตุ้นจากฮัยโปธาลามัสไปยังต่อมหมวกไตให้ลดการสร้างสเตียรอยด์ ในทางตรงกันข้ามถ้าระดับของคอร์ติโอโซลต่ำ จะมีผลให้ต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้น
  • การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ มากน้อยขึเนอยู่กับขนาดของยา และที่ได้รับและระยะเวลาในการใช้ยา เช่นถ้าใช้สเตียรอยด์เทียบเท่ากับเพรดนิโซโลน 15 มิลลิกรัมต่อวัน แทบจะไม่มีผลที่จะกดการทำงานของระบบนี้เลย แต่ถ้าให้ขนาดสูงเทียบเท่าเพรดนิโซโลน 15 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลานาน จะมีผลต่อร่างกาย หากหยุดใช้ยา ร่างกายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนีได้เพียงพอ โดยเฉพาะเวลาเครียด
  • แผลในกระเพาะอาหาร มีผลทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทน ในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นด้วย การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน
  • ผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ใช้ยามีอาการเสพติดยา
  • นอนไม่หลับ เจริญอาหาร หงุดหงิด
  • กระดูกผุ (Osteoporosis)
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของร่างกาย การใช้ยาขนาดสูงในเด็ก
  • ทำให้ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือโปแตสเซียมทางปัสสาวะมาก ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้
  • ผลต่อตา ยาหยอดตาบางชนิดมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไปนานๆทำให้ความดันลูกตาสูง มีอาการติดเชื้อง่าย อาจทำให้ตาบอด
  • ผลต่อผิวหนัง มีผลทำให้ผิวหนังบางเป็นรอยแตกและมีลักษณะเป็นมัน ถ้าทาบริเวณใบหน้าอาจทำให้มีผื่นแดง และมีอาการอักเสบของผิวหนังรอบๆ มีสิว
  • อ้วน ขนดก  ระบบประจำเดือนผิดปกติ ปวดหลัง บวมน้ำ