ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้และภาวะความเจ็บป่วยจากโรคภูมิแพ้มีแนวโน้มสูงมากขึ้น ทั่วโดลกรวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตเปลี่ยนไป รวมถึงปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นอาหาร สุขอนามัย อุณหภูมิ มลภาวะ เป็นต้น ล้วนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคภูมิแพ้ ปัจจัยหลักในการเกิดโรคภูมิแพ้คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (Allergen exposure) ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้น (Allergen Sensitization)อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ในเวลาต่อมา สารก่อภูมิแพ้พบได้ทั่วไปทั้งในบ้านและนอกบ้าน แต่พบสารก่อภูมิแพ้ที่พบในบ้านเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้มากที่สุด สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น แมลงสาบ ฝุ่นบ้าน ขนของสัตว์เลี้ยง เชื้อรา ฝุ่นจากผ้า ฝุ่นจากที่นอนและหมอนเป็นต้น เห็นได้ว่าบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ กลับเป็นแหล่งสะสมสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ ส่วนใหญ่จัดเป็น(Aeroallergen) ฟุ้งกระจายอยู่ในบ้าน
การหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น ยึดถือหลัก 3 ประการ
- การลดจำนวนไรฝุ่น (Mite population) มีการศึกษาพบว่าอาการแพ้ฝุ่นบ้านมีความสัมพันธ์กับจำนวนไรฝุ่นในฝุ่นนั้นที่สำคัญโปรตีนในไรฝุ่นเปลือกและทรากไรฝุ่นนั้นคือสารก่อภูมิแพ้ การลดจำนวนไรฝุ่นคือการลดแหล่งผลิตสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น
- การทำลายคุณสมบัติของสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น โดยทำให้โปรตีนที่เป็นสารแพ้ เสื่อสภาพซึ่งอาจเป็นวิธีการทางกายภาพหรือการใช้สารเคมี
- การหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้
- การคลุมเครื่องนอน
- การซักล้าง
- การดูดฝุ่น( Vacuum )
- การใช้ความร้อน มากกว่า60 องศาเซลเซียส (รีด อบ ตากแดด ซักในน้ำร้อน)
- การใช้ความเย็น
- การทำให้อากาศบริสุทธิ์
- ปรับสภาพแวดล้อม